หน้าเว็บ

ประวัติวัดธรรมภาวนา

ประวัติโดยสังเขป
วัดธรรมภาวนา   อลาสก้า
1.ชื่อวัดภาษาไทย วัดธรรมภาวนา
2.ชื่อวัดภาษาอังกฤษ : WAT  DHAMMA  BHAVANA   BUDDHIST  CENTER
3.สถานที่ตั้งวัด   738 West   72 nd   Avenue, Anchorage  , Alaska   99518  USA
4.เนื้อที่วัด   ประมาณ  เกือบ  1 เอเคอร์
5.วัตถุประสงค์
                5.1.เพื่อเป็นศูนย์การศึกษา  ปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมะในทางพระพุทธศาสนา
                5.2.เพื่อเป็นศูนย์กลางการบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา
                5.3.เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาและเผยแผ่วัฒนธรรมไทยให้ทุกท่านที่ต้องการศึกษา
                5.4.เพื่อเป็นสะพานที่พักสำหรับพระสงฆ์ผู้เป็นพระธรรมทูตมาปฏิบัติศาสนกิจและพระสงฆ์จากทั่วสารทิศและญาติโยมผู้มาเยือน
6.ระบบการบริหารของวัด
                เป็นแบบ  BORD  OF DIRECTORS  ในรูปแบบคณะกรรมการ  โดยมีเจ้าอาวาสเป็นประธานบริหาร  และเป็นประธานกรรการ  มีคณะกรรมการบริหารทั้งพระและฆราวาส จำนวน 17 รูป/คน
                ผู้ที่มาก่อตั้งครั้งแรก  คือ  ท่านอาจารย์  พระมหาวิเลิศ  ปวิตฺตสิริ    จากวัดชนะสงคราม  กรุงเทพฯ  เริ่มก่อตั้ง ปี  พ.ศ.2535   และต่อมาได้มีเจ้าอาวาสอีกหลายท่าน  เช่น  พระมหาอำพร                        เขมาสโภ ,พระมหาพิทักษ์  กิตฺติสทฺโท ,พระอาจารย์ สังวาล  เปมสีโล   ช่วยดูแลมาเป็นลำดับจนถึงปี  พ.ศ.2549  และ  พระมหาสมปอง  สุขิโต  ปลื้มเปี่ยม  วัดสังเวศวิศยาราม  กรุงเทพฯ  เป็นเจ้าอาวาสถึงปัจจุบัน
7.วัดธรรมภาวนา  เป็นวัดแรกของอลาสก้า  ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา  24  ปี  โดยผ่านการบิรหารจัดการดูแลกันมาเป็นลำดับ ได้ให้ประโยชน์ แก่พระพุทธศาสนาและประชาชนชาวพุทธเป็นอันมาก  เป็นอันว่า 
                วัดจึงจำเป็นต้องขยับขยายให้มีบริเวณวัดหรือบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมให้เหมาะสมกับประชาชนที่มากขึ้นและเพื่อความเจริญมั่นคง  สามารถสืบต่อพระพุทธศาสนาบนดินแดนของ อลาสก้า อันสงบเยือกเย็นให้เกิดความผาสุก  อบอุ่นไปตราบนานเท่านาน สืบต่อไป
                ฉะนั้น   ความหมายของการสร้างวัดไทยในต่างแดนจึงมีคุณประโยชน์ต่อโลกมากมาย  จนถึงปี  พ.ศ.2016  นี้  มีพระธรรมทูตมาปฏิบัติศาสนกิจ เป็นจำนวน  5  รูป คือ
1.พระมหาสมปอง สุขิโต (ปลื้มเปี่ยม) ป.ธ. ๗, ศน.บ., M.A.(ม.นิวเดลลี อินเดีย)
 พระธรรมทูต รุ่นที่ 5   เจ้าอาวาส
2.พระมหาประเวศ อธิเมโธ (ศรีจันทร์แก้ว) ป.ธ. ๗, พธ.บ., M.A.  พระธรรมทูต รุ่นที่ 5
( กลับเมืองไทย )
3.ดร.พระมหาสุพล กมโล (สาลีงาม)น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔,Ph.D. พระธรรมทูต  รุ่นที่ 11
4.พระมหาวีระพงษ์  พุทฺธิรํสี (ปรีชญานุวัตร) นธ.เอก,ป.ธ.7, รบ.  พระธรรมทูต รุ่นที่ 19
                5.พระศุภกร ปญฺญาวชิโร (โพธิ์แก้ว) นธ.ตรี, วศ.บ,  ศ.ต.ภ.
ผลงานของวัดธรรมภาวนา
                วัดธรรมภาวนา  ALASKA  เป็นวัดแรกของรัฐ  เดิมตั้งอยู่ที่  1006 Chugach  Way, Anchorage, Alaska   99503  (พ.ศ.2535  เช่าอยู่)  ครั้นปีที่ 3  จึงมีความพร้อมเพียงกันหาซื้อบ้านมาปรับปรุงเป็นวัด  ณ  ที่ปัจจุบัน โดยใช้ระยะเวลา 4 ปี  ก็สามารถจ่ายหมด
               
วัดมีบทบาทต่อชุมชนชาวไทยและชาวพุทธทุกชาติทุกภาษาดังต่อไปนี้

1.วัดเป็นศูนย์รวมของการสืบสานต่อวัฒนธรรมไทย  เป็นที่รับรู้ของชาวอลาสก้า                  และชาวโลก เป็นอย่างดี   จะเห็นได้ว่า  เมื่อทางวัดจัดงาน  สงกรานต์และลอยกระทง                          ตามวัฒนธรรมไทย  จะมีคนท้องถิ่นมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก  ทำให้เขารู้จัก นาฏศิลป์ไทย อาหารไทย  และขนบธรรมเนียม ประเพณี  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันดีงามของไทย
2.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์  ได้มีญาติธรรมมาร่วมทำบุญ ซึ่งมีการให้ทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนากันอย่างพร้อมเพรียง  ทำให้คนรุ่นหลังได้รับรู้คุณงามความดีทางศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับ ความรัก  ความเคารพ และหวงแหน          สืบต่อไป
3.วัดให้ความสะดวกในการประกอบพิธีทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา                วันวิสาขบูชา  วันอัฏฐมีบูชา  วันอาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา-ออกพรรษา     และงานกฐิน                         โดยเฉพาะงานบุญกฐินนั้น  วัดธรรมภาวนา ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็นกฐินพระราชทานติดต่อกันมาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว
4.วัดมีโอกาสได้ช่วยเหลือชุมชนและคนพื้นเมืองหลายอย่าง  เช่น ให้ที่พักและอาหาร ของใช้ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในบางโอกาส
5.วัดเป็นสถานศึกษา  แก่คนทั่วไปตลอดถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่  ได้มาเรียนรู้วัฒนธรรม ทางด้านภาษาไทย  การร้องรำ ทำเพลง นาฏศิลป์ไทย  วิถีชีวิตแบบไทย  และออกไปให้ความรู้ในโรงเรียนในบางโอกาส

6.วัดยังมีพระให้ความสนใจ ในการเป็นที่พึ่งทางจิตใจ  เช่น ไปเยี่ยมเยียนคนที่ประสบกับความทุกข์ มีการเจ็บป่วย  และได้ให้คำปรึกษาอันเป็นแนวทางปฏิบัติตนแบบพุทธมามกะ มีการ  ให้รับศีล 5 ศีล 8 และ ศีลอุโบสถ  เป็นต้น
7.วัดมีโอกาสได้ต้อนรับพระและญาติโยมจากทิศต่างๆของโลก  และยังให้สถานที่และอำนวยความสะดวก แก่คณะกงสุลสัญจร และอื่นๆอีกมากมาย
8.เมื่อวัดทำประโยชน์ให้มากถึงขนาดนี้ ทางวัดจึงเห็นความสำคัญของวัดและพระสงฆ์ผู้จะมาปฏิบัติศาสนกิจให้มีความสะดวกตามสมควรแก่อัตตภาพ 
คณะกรรมการผู้บริหารจึงมีความประสงค์  ที่จะขยายวัดให้พอเพียงแก่ความต้องการ  และ
กำลังดำเนินการอยู่   โดยหวังว่าคงได้รับความร่วมมือ  ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย   เพื่อที่จะได้มีวัด  อันเป็นสัญญาลักษณ์ของพระพุทธศาสนา   ที่ได้ตั้งอยู่บนสุดขั้วโลก เหนือดินแดนที่หนาวเย็น   อันสงบสุขไปตราบนานเท่านาน   จนถึงครบอายุกาลของพระศาสนา
                                               
อยู่เพื่อตัวเอง       อยู่แค่สิ้นลม
                                                       อยู่เพื่อสังคม        อยู่ชั่วฟ้าดิน

จรถ  ภิกฺขเว  จาริกํ   พหุชนหิตาย   พหุชนสุขาย
                     โลกานุกมฺปาย   อตฺถาย   หิตาย  สุขาย   เทวมนุสฺสานํ.
ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงจาริกไป  เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก  โดยอาศัยความอนุเคราะห์ชาวโลก  เพื่อประโยชน์  เพื่อความเกื้อกูล  และเพื่อความสุขของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

Go  now  and  wander  for  the  welfare   and  happiness   of  many ,  out  of  compassion  for  the  world    for  the  benefit,  welfare  and  happiness   of  gods    and  men.
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น